พิจารณาเรือเดินสมุทรที่มีขนาดใหญ่สามารถลอยอยู่ในน้ำได้อย่างไร นักเรียนคงจะพิจารณา
ที่มวลและน้ำหนักอย่างเดียวไม่ได้เพราะความรู้สึกส่วนใหญ่เราจะคิดว่าวัตถุจะลอยหรือจมน้ำ
เราจะดูกันง่ายๆ แค่เพียงกว่าหนักหรือเบา แต่เรือที่มีขนาดใหญ่สามารถลอยน้ำได้นักเรียนคงต้อง
ศึกษาเรื่องความหนาแน่นของสารแล้วนำความรู้ที่ได้มาอธิบายที่มวลและน้ำหนักอย่างเดียวไม่ได้เพราะความรู้สึกส่วนใหญ่เราจะคิดว่าวัตถุจะลอยหรือจมน้ำ
เราจะดูกันง่ายๆ แค่เพียงกว่าหนักหรือเบา แต่เรือที่มีขนาดใหญ่สามารถลอยน้ำได้นักเรียนคงต้อง
ภาพ 1 แสดงเรือที่สามารถลอยในน้ำได้
ความหนาแน่น (density, สัญลักษณ์: ρ อักษรกรีก อ่านว่า โร ) เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลกับ
ปริมาตรสาร ในระบบเอสไอ (S.I.) มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ปริมาตรสาร ในระบบเอสไอ (S.I.) มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
โดยที่
ρ คือความหนาแน่นของวัตถุ (หน่วย กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
m คือมวลรวมของวัตถุ (หน่วย กิโลกรัม)
V คือปริมาตรรวมของวัตถุ (หน่วย ลูกบาศก์เมตร)
? คำถามประจำหน่วย : ทำไมเรือที่สร้างจากเหล็กจึงสามารถลอยน้ำได้
ภาพ 2 แสดงเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่สามารถลอยน้ำได้
ที่มาภาพ : http://travel.mthai.com/wp-content/uploads/old_attachment/2010/05/13/5337-qe2.jpg
มากกว่าน้ำ ก็เพราะว่าเหล็กมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจึงจมน้ำ ถ้านำเหล็กมาตีแผ่เป็นแผ่น
บางๆ แล้วทำเป็นรูปทรงของเรือ ปริมาตรจะเพิ่มขึ้นทั้งๆ ที่มวลเท่าเดิม ทำให้เรือเหล็กมี
ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงลอยน้ำได้
วัตถุสามารถลอยได้ในของเหลวใดๆ ก็เพราะวัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลว
ชนิดนั้น เช่น ไม้ชิ้นหนึ่งมีความหนาแน่น 0.9 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถลอยได้ในน้ำ
ซึ่งมีความหนาแน่น 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้
เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำและน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา แรงนี้
เรียกว่า “แรงลอยตัวหรือแรงพยุง” ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่
ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่ หรือ เข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขัน
หรือชามที่สูงขึ้น) ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลงและแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น วัตถุจึงลอยตัว
ในน้ำได้ ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี
ภาพ 1 แสดงสารชนิดต่างๆ ที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
ที่มาภาพ : http://static.squarespace.com/static/5277d798e4b0298e6ac9020f/
5293511ae4b055565bd2230c/52fe8e6be4b0a44284ea5258/1406135491141/SciSource_BX5834.jpg?format=300w
ตารางแสดงค่าความหนาแน่นของสารชนิดต่างๆ
5293511ae4b055565bd2230c/52fe8e6be4b0a44284ea5258/1406135491141/SciSource_BX5834.jpg?format=300w
ตารางแสดงค่าความหนาแน่นของสารชนิดต่างๆ
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density) โดยความหนาแน่นสัมพัทธ์ของสารใดๆ เป็นความหนาแน่นของสารนั้นเทียบกับความหนาแน่นของสารอ้างอิง ซึ่งนิยมใช้น้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส (เป็นอุณหภูมิที่น้ำมีความหนาแน่นสูงที่สุด)
ไฮโดรมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) ซึ่งเป็นการวัดความหนาแน่นของ
ของเหลวว่าของเหลวนั้นมีความหนาแน่นเป็นกี่เท่าของน้ำ (ความหนาแน่นของน้ำเป็น 1 กรัมต่อ
ลูกบาศก์เซนติเมตร)
ภาพ 2 แสดงไฮโดรมิเตอร์
ที่มาภาพ : http://fieldtrip.ipst.ac.th/backend/images/resources/salt/content_pic/7-2.jpg
ความรู้เพิ่มเติม
- สสารที่หนาแน่นที่สุดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนโลก คือ ธาตุอิริเดียม มีความหนาแน่น
ประมาณ 22,650 kg/m3
- น้ำที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่น 1,000 kg/m3 หรือ 103 kg/m3 ใช้เป็น
ค่ามาตรฐานของความหนาแน่นน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
ไม่อนุญาตให้มีความคิดเห็นใหม่